ส่วนความเป็นมาของชื่อ "แปดริ้ว"
ก็มีเล่าขานกันมาหลายกระแส บ้างก็ว่าที่ได้ชื่อว่าเมืองแปดริ้ว ก็เพราะขนาดอันใหญ่โตของปลาช่อนที่ชุกชุมเมื่อนำมาแล่
จะต้องแล่ถึงแปดริ้ว หรือไม่ก็ว่ามาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง "พระรถเมรี" เล่าว่ายักษ์ฆ่านางสิบสองแล้วชำแหละศพออกเป็นชิ้น
ๆ รวมแปดริ้ว ทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาดสำหรับข้อสันนิษฐานการตั้งเมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในฐานะหัวเมืองชั้นในหรือเมืองจัตวา ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) แต่สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏชัดเจนในสมัยพระนเรศวรมหาราชที่ใช้เมืองฉะเชิงเทราเป็นที่รวบรวมไพร่พล
เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๖ ด้วยชัยภูมิของเมืองที่เหมาะแก่การทำสงครามกองโจร
ทำให้ฉะเชิงเทราเป็นเมืองหน้าด่านที่ใช้ป้องกันศัตรู ปกป้องเมืองหลวง
จวบจนสู่การปกครองระบบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.๒๔๗๕ และในปี พ.ศ.๒๔๗๖
มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาค คำว่าเมืองเปลี่ยนเป็นจังหวัด
มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ครองเมือง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕
ซึ่งเป็นปีที่มีการตั้งภาคครั้งสุดท้ายของไทย
ฉะเชิงเทราได้รับเลือกเป็นสถานที่ภาคมีเขตความรับผิดชอบ ๘ จังหวัด ซึ่งนับเป็นบทบาทที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การปกครองของจังหวัดฉะเชิงเทรา
“ฉะเชิงเทรา” กับ
“แปดริ้ว”
ฉะเชิงเทรา” กับ “แปดริ้ว” คือสองชื่อที่เรียกขานเมืองนี้ “ฉะเชิงเทรา” เป็นชื่อที่ใช้ในทางราชการ ส่วน “แปดริ้ว” เป็นภาษาท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้เรียกกันมาช้านาน ซึ่งทั้งสองชื่อต่างก็มีเรื่องเล่าขานถึงความเป็นมาอย่างหลากหลายและมีสีสัน ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” มีต้นเค้านึ่งมาจากหนังสือชุมนุมพระนิพนธ์ภาคปกิณกะ ภาค 1 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความพาดพิงถึงเมืองฉะเชิงเทราว่า “...ชื่อบ้านเมืองเหล่านี้เป็นชื่อไทยบ้าง ชื่อเขมรบ้าง เป็นสองชื่อทั้งไทยทั้งเขมรบ้าง อย่างเมืองฉะเชิงเทราเป็นชื่อเขมร แปดริ้วเป็นชื่อไทย...” นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านจึงมีความเห็นว่า “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า “สตึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า “คลองลึก” ความเห็นนี้คงอาศัยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ด้วย เพราะเมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เมื่อครั้งที่ขอมยังมีอำนาจปกครองแผ่นดินไทยอยู่นั้น เมืองนี้เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองขิงขอมมาก่อน เป็นไปได้ว่าชาวเมืองในสมัยโบราณอาจจะเรียกแม่น้ำบางปะกงว่า “คลองลึก” หรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น และด้วยอิทธิพลเขมรจึงไดเรียกชื่อแม่น้ำเป็นภาษาเขมรว่า “สตรึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ครั้งเรียกกันไปนานๆ เสียงก็เพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” เมืองที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำก็พลอยได้ชื่อว่า “ฉะเชิงเทรา” ไปด้วย
ฉะเชิงเทรา” กับ “แปดริ้ว” คือสองชื่อที่เรียกขานเมืองนี้ “ฉะเชิงเทรา” เป็นชื่อที่ใช้ในทางราชการ ส่วน “แปดริ้ว” เป็นภาษาท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้เรียกกันมาช้านาน ซึ่งทั้งสองชื่อต่างก็มีเรื่องเล่าขานถึงความเป็นมาอย่างหลากหลายและมีสีสัน ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” มีต้นเค้านึ่งมาจากหนังสือชุมนุมพระนิพนธ์ภาคปกิณกะ ภาค 1 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความพาดพิงถึงเมืองฉะเชิงเทราว่า “...ชื่อบ้านเมืองเหล่านี้เป็นชื่อไทยบ้าง ชื่อเขมรบ้าง เป็นสองชื่อทั้งไทยทั้งเขมรบ้าง อย่างเมืองฉะเชิงเทราเป็นชื่อเขมร แปดริ้วเป็นชื่อไทย...” นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านจึงมีความเห็นว่า “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า “สตึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า “คลองลึก” ความเห็นนี้คงอาศัยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ด้วย เพราะเมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เมื่อครั้งที่ขอมยังมีอำนาจปกครองแผ่นดินไทยอยู่นั้น เมืองนี้เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองขิงขอมมาก่อน เป็นไปได้ว่าชาวเมืองในสมัยโบราณอาจจะเรียกแม่น้ำบางปะกงว่า “คลองลึก” หรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น และด้วยอิทธิพลเขมรจึงไดเรียกชื่อแม่น้ำเป็นภาษาเขมรว่า “สตรึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ครั้งเรียกกันไปนานๆ เสียงก็เพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” เมืองที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำก็พลอยได้ชื่อว่า “ฉะเชิงเทรา” ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากมักมีความเห็นต่างอกไปว่า ชื่อ “ฉะเชิงเทรา”
น่าจะเพี้ยนจาก “แสงเชรา” หรือ “แซงเซา” หรือ “แสงเซา”
อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จไปตีได้ ตามที่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้มากกว่า
เพราะการออกเสียงใกล้เคียงกันมาก ยิ่งเมื่อประกอบความคิดที่ว่า
เมืองตั้งขึ้นในตอนต้นกรุงศรีอยุธยา อันเป็นเวลาที่ชื่อเสียงเรียงนามต่างๆ
น่าจะเป็นคำไทยหมดแล้ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ
ที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน อย่างนนทบุรี นครไชยศรีและสาครบุรี
ซึ่งล้วนแต่มีเชื้อสายไทยอิทธิพลอินเดีย ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่าเมืองนี้ไม่ใช่คำเขมร
หากแต่เป็นคำไทยที่เพี้ยนมาขากชื่อเมืองในพงศาวดารนี่เอง
ส่วนความเป็นมาของชื่อ
“แปดริ้ว” ก็มีตำนานเล่าขานกันมาหลายกระแสไม่แพ้กัน บ้างก็ว่าเมืองนี้แต่ไหนแต่ไรมาเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ
ในลำน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วนสัตว์น้ำนานาชนิด
โดยเฉพาะปลาช่อนซึ่งเป็นปลาน้ำจืดรสดีนั้นมีชุกชุมและขนาดใหญ่กว่าในท้องถิ่นอื่นๆ
จนเมื่อนำมาแล่เนื้อทำปลาตากแห้ง จะแล่เพียงสี่ริ้วหรือห้าริ้วตามปกติไม่ได้
ต้องแล่ออกถึง “แปดริ้ว” เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว”
ตามขนาดใหญ่โตของปลาช่อนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมือง
นอกจากเรื่องปากท้องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และมีอิทธิพลต่อความคิดของชาวบ้านอย่างมากแล้ว
นิทานพื้นบ้านซึ่งมีเนื้อเรื่องค่อนข้างผาดโผนก็มีส่วนสร้างความเชื่อถือในเรื่องชื่อเมืองได้เหมือนกัน
คนในท้องถิ่นพนมสารคามเล่าถึงเรื่อง “พระรถ-เมรี”
ซึ่งเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกว่า
ยักษ์ได้ฆ่านางสิบสองแล้วลากศพไปยังท่าน้ำ ในบริเวณที่เป็นคลอง“ท่าลาด”
แล้วชำแหละศพออกเป็นริ้วๆ รวมแปดริ้ว แล้วทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาด
ริ้วเนื้อริ้วหนังของนางสิบสองลอยมาออกยังแม่น้ำบางปะกง ไปจนถึงฉะเชิงเทรา
เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
สภาพภูมิอากาศ
จังหวัดฉะเชิงเทรามีลักษณะร้อนชื้นเขตศูนย์สูตร โดยมีลมมรสุมพัดปกคลุมเกือบตลอดปีแบ่งออกตามฤดูกาลได้
3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน...
เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
โดยมีลมตะวันออกและลมใต้พัดปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอ้าวและอากาศร้อนจัดเป็นบางวันบางครั้งอาจมีพายุฤดูร้อน
ลักษณะเป็นฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงอุณหภูมิอากาศสูงสุดเฉลี่ย 35-38 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ย 200-300 มิลลิเมตร
เป็นช่วงที่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่
ฤดูฝน...
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม
ประกอบกับมีร่องความกดอากาศต่ำ พาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก
ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปและตกหนักบางพื้นที่ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง
โดยมีปริมาณฝนเฉลี่ย 1,000 – 1,200 มิลลิเมตร เป็นช่วงที่เหมาะแก่การทำงานและปลูกผลไม้
ฤดูหนาว...
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม
ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงพัดผ่าน ทำให้ท้องฟ้าโปร่งใสอากาศเย็นมีหมอกในตอนเช้า
และมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิอากาศต่ำสุดเฉลี่ย 18-21 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ย
50-100 มิลลิเมตร เป็นช่วงที่เหมาะแก่การปลูกพืชผักสวนครัว
ไม้ดอกและไม้ประดับ
สถานที่ท่องเที่ยว
1.วัดโสธรวรารามวรวิหาร
วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง
ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า "วัดหงษ์" สร้างในสมัยกรุงศรี
อยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อพุทธโสธร" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทราเป็นพระพุทธรูป
ปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48เมตร ฝีมือช่างล้านช้างตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา
และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ
รูปทรง วยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็น
ในปัจจุบัน ทุกวันจะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อพุทธโสธรจำนวนมากเนื่องจากอุโบสถหลังเก่ามีสภาพ
ทรุดโทรมและคับแคบ ทางคณะกรรมการวัดจึงได้มีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าและสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นอาคารทรงไทยที่ออกแบบพิเศษ เฉพาะรัชกาลลักษณะ
แบบพระอุโบสถเป็นหลังคาประกอบเครื่องยอดชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและ
ด้านหลังด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงเดียวกับพระวิหารเป็นอาคารมุขเด็จ จึงมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคา
แบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย กว้าง 44.5 เมตร ยาว 123.50
เมตร ส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูง 85 เมตร
ยอดมณฑปมีลักษณะเป็นฉัตร 5 ชั้น มีความสูง 4.90 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนัก 77กิโลกรัม มูลค่า 44
ล้านบาท ผนังด้านนอกพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากเมืองคาร์ราร่า
ประเทศอิตาลี ผนังด้านในเป็นงาน จิตรกรรมฝาผนัง โดยศิลปินแห่งชาติซึ่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก
กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ ในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
จังหวัดฉะเชิงเทรา
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อป้องกันการรุกรานศัตรูจากที่ต่างๆ
ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 5 เป็นที่ตั้งของพวกอั้งยี้
มีปืนใหญ่จากศาลหลักเมืองตั้งอยู่
จัดเป็นโบราณสถานของจังหวัดฉะเชิงเทรา
หน้ากำแพงเมืองจัดเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:View_of_Wat_Sothonwararam.jpg
แผนที่จังหวัด
อ้างอิง
http://maps.google.co.th/maps/place?ftid=0x311d14deef9eeda5:0x303d84ae1b457f0&q=%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2+%E0%B8%88.%E0%B8%89%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2&hl=th&gl=th&ved=0CBwQ3w0&sa=X&ei=3sQ0T7OyAsWciQfBx_DSCg
ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
นอกจากเรื่องปากท้องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และมีอิทธิพลต่อความคิดของชาวบ้านอย่างมากแล้ว นิทานพื้นบ้านซึ่งมีเนื้อเรื่องค่อนข้างผาดโผนก็มีส่วนสร้างความเชื่อถือในเรื่องชื่อเมืองได้เหมือนกัน คนในท้องถิ่นพนมสารคามเล่าถึงเรื่อง “พระรถ-เมรี” ซึ่งเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกว่า ยักษ์ได้ฆ่านางสิบสองแล้วลากศพไปยังท่าน้ำ ในบริเวณที่เป็นคลอง“ท่าลาด” แล้วชำแหละศพออกเป็นริ้วๆ รวมแปดริ้ว แล้วทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาด ริ้วเนื้อริ้วหนังของนางสิบสองลอยมาออกยังแม่น้ำบางปะกง ไปจนถึงฉะเชิงเทรา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
สภาพภูมิอากาศ
จังหวัดฉะเชิงเทรามีลักษณะร้อนชื้นเขตศูนย์สูตร โดยมีลมมรสุมพัดปกคลุมเกือบตลอดปีแบ่งออกตามฤดูกาลได้ 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน...
เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
โดยมีลมตะวันออกและลมใต้พัดปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอ้าวและอากาศร้อนจัดเป็นบางวันบางครั้งอาจมีพายุฤดูร้อน
ลักษณะเป็นฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงอุณหภูมิอากาศสูงสุดเฉลี่ย 35-38 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ย 200-300 มิลลิเมตร
เป็นช่วงที่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่
ฤดูฝน...
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม
ประกอบกับมีร่องความกดอากาศต่ำ พาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออก
ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปและตกหนักบางพื้นที่ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง
โดยมีปริมาณฝนเฉลี่ย 1,000 – 1,200 มิลลิเมตร เป็นช่วงที่เหมาะแก่การทำงานและปลูกผลไม้
ฤดูหนาว...
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม
ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงพัดผ่าน ทำให้ท้องฟ้าโปร่งใสอากาศเย็นมีหมอกในตอนเช้า
และมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิอากาศต่ำสุดเฉลี่ย 18-21 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ย
50-100 มิลลิเมตร เป็นช่วงที่เหมาะแก่การปลูกพืชผักสวนครัว
ไม้ดอกและไม้ประดับ
สถานที่ท่องเที่ยว
1.วัดโสธรวรารามวรวิหาร
วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง
ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า "วัดหงษ์" สร้างในสมัยกรุงศรี
อยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อพุทธโสธร" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทราเป็นพระพุทธรูป
ปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48เมตร ฝีมือช่างล้านช้างตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา
และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ
รูปทรง วยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็น
ในปัจจุบัน ทุกวันจะมีผู้คนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อพุทธโสธรจำนวนมากเนื่องจากอุโบสถหลังเก่ามีสภาพ
ทรุดโทรมและคับแคบ ทางคณะกรรมการวัดจึงได้มีมติให้รื้อพระอุโบสถหลังเก่าและสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
โดยมีสำนักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นอาคารทรงไทยที่ออกแบบพิเศษ เฉพาะรัชกาลลักษณะ
แบบพระอุโบสถเป็นหลังคาประกอบเครื่องยอดชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและ
ด้านหลังด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงเดียวกับพระวิหารเป็นอาคารมุขเด็จ จึงมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคา
แบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย กว้าง 44.5 เมตร ยาว 123.50
เมตร ส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูง 85 เมตร
ยอดมณฑปมีลักษณะเป็นฉัตร 5 ชั้น มีความสูง 4.90 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนัก 77กิโลกรัม มูลค่า 44
ล้านบาท ผนังด้านนอกพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากเมืองคาร์ราร่า
ประเทศอิตาลี ผนังด้านในเป็นงาน จิตรกรรมฝาผนัง โดยศิลปินแห่งชาติซึ่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก
กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ ในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
จังหวัดฉะเชิงเทรา
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อป้องกันการรุกรานศัตรูจากที่ต่างๆ
ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 5 เป็นที่ตั้งของพวกอั้งยี้
มีปืนใหญ่จากศาลหลักเมืองตั้งอยู่
จัดเป็นโบราณสถานของจังหวัดฉะเชิงเทรา
หน้ากำแพงเมืองจัดเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:View_of_Wat_Sothonwararam.jpg
แผนที่จังหวัด
อ้างอิง
http://maps.google.co.th/maps/place?ftid=0x311d14deef9eeda5:0x303d84ae1b457f0&q=%E0%B8%AD.%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2+%E0%B8%88.%E0%B8%89%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2&hl=th&gl=th&ved=0CBwQ3w0&sa=X&ei=3sQ0T7OyAsWciQfBx_DSCg
ชื่อพันธุ์ไม้
|
นนทรีป่า
|
ชื่อสามัญ
|
Copper pod
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Peltophorum
dasyrachis Kurz, ex Bake
|
วงศ์
|
LEGUMINOSAE
|
ชื่ออื่น
|
กว่าเซก
(เขมร-กาญจนบุรี), คางรุ้ง คางฮ่ง (พิษณุโลก), จ๊าขาม ช้าขม (ลาว),
ตาเซก (เขมร-บุรีรัมย์), นนทรีป่า (ภาคกลาง),
ราง (ส่วย-สุรินทร์), ร้าง อะราง อะล้าง
(นครราชสีมา), อินทรี (จันทบุรี)
|
ลักษณะทั่วไป
|
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 15 – 30 เมตร
เรือนยอดเป็นรูปพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นสีทองหรือสีเทาอมน้ำตาล
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน
ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองสด
กลีบดอกมีลักษณะย่น ออกดอกพร้อมกับใบอ่อนช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
ผลเป็นฝักแบนรูปหอก
|
ขยายพันธุ์
|
โดยการเพาะเมล็ด
|
สภาพที่เหมาะสม
|
เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
กลางแจ้ง
|
ถิ่นกำเนิดของประเทศไทย
|
ป่าดงดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และตามป่าโปร่งภาคเหนือ
|
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม บล็อก media8riew
ชณาภา และไหม
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น